เมนู

ทุติยวรรควรรณนาที่ 2



อรรถกถาอิจฉานังคลสูตร



ทุติยวรรคที่ 2 อิจฉานังคลสูตรที่ 1.

ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า จึงตรัสบอกวิหารสมาบัติ (การเข้าถึงธรรมเครื่องอยู่) ของพระองค์ว่า
พวกเธอพึงตอบอย่างนี้เล่า. ตอบว่า เพื่อเปลื้องความติเตียน. จริงอยู่ ถ้าหาก
พวกภิกษุเหล่านั้นพึงกล่าวว่า พวกเราไม่ทราบ ทีนั้น พวกเดียรถีย์ก็จะพึงยกข้อ
ตำหนิขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านย่อมไม่ทราบว่า ศาสดาของพวกเรา
อยู่แล้วตลอดสามเดือน ด้วยสมาบัติชื่อโน้น แล้วก็ทำไม พวกท่านจึงยอม
รับใช้ท่านอยู่เล่า เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนั้น เพื่อปลดเปลื้อง.
ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ทำไมในที่นี้จึงไม่ตรัสเหมือนที่ตรัส
วาอักษร ในที่อื่นว่า มีสติเทียว ย่อมหายใจออก หรือ เมื่อกำลังหายใจออกยาว
ด้วยเล่า. ตอบว่า เพราะความเป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง. จริงอยู่ ลมหายใจออก
หรือลมหายใจเข้าเป็นสิ่งที่ปรากฏแก่คนเหล่าอื่น สิ่งทั้งสองอย่างนี้ เป็นสิ่งที่
ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะความที่ทรงมีพระสติที่ทรงเข้าไปตั้งไว้
เป็นนิจ เหตุนี้จึงไม่ตรัสไว้ เพราะความเป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง. และเมื่อเป็น
อย่างนั้น ทำไมจึงไม่ตรัสว่า สกฺขามิ (เราย่อมศึกษา) ตรัสแต่เพียงว่า
อสฺสสามิ (เราย่อมหายใจออก) เท่านี้เล่า. เพราะไม่มีสิ่งที่จะต้องศึกษา.
จริงอยู่ พระเสกขะ 7 จำพวก ชื่อว่า เป็นผู้ศึกษา เพราะยังมีสิ่งที่จะต้อง
ศึกษา พระขีณาสพ ชื่อว่า อเสกขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) เพราะไม่มีสิ่งที่จะ
ต้องศึกษา. พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ต้องศึกษา จึงชื่อว่า อเสกขะ
กิจที่จะต้องศึกษาของพระอเสกขะเหล่านั้นไม่มี เหตุนี้ จึงไม่ตรัสไว้ เพราะไม่
มีกิจที่จะต้องศึกษา.
จบอรรถกถาอิจฉานังคลสูตรที่ 1

2. โลมสกังภิยสูตร*



วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์



[1369] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้
เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จ
เข้าไปหาท่านพระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ถวายนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สมาธิอัน
สัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้น เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรม
ของพระตถาคต หรือว่าวิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคต
อย่างหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร สมาธิอัน
สัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้นแล เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรม
ของพระตถาคต หามิได้ วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคต
อย่างหนึ่ง.
[1370] ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ
อรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้น
ย่อมละนิวรณ์ 5 นิวรณ์ 5 เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาท
นิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใด
เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละนิวรณ์ 5 เหล่านี้.
[1371] ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้
โดยชอบ นิวรณ์ 5 อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่
* อรรถกถา กล่าวว่า มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น I